บทที่ 2 การให้เหตุผล



การให้เหตุผล


     วัตถุประสงค์
  1. สามารถยกตัวอย่างการให้เหตุผลได้
  2. สามารถอธิบายความหมายเกี่ยวกับการให้เหตุผลได้

           1. การให้เหตุผลแบบอุปนัย
          การให้เหตุผลแบบอุปนัยเกิดจากการที่มีสมมติฐานกรณีเฉพาะหรือเหตุย่อยหลายๆ เหตุเหตุย่อยแต่ละเหตุเป็น        อิสระจากกัน มีความสำคัญเท่าๆ กัน และเหตุทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีเหตุใดเหตุหนึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็น                  สมมติฐานกรณีทั่วไป หรือกล่าวได้ว่า การให้เหตุผลแบบอุปนัยคือการนำเหตุย่อยๆ แต่ละเหตุมารวมกัน เพื่อนำ          ไปสู่ผลสรุปเป็นกรณีทั่วไป เช่นตัวอย่างการให้เหตุผลแบบอุปนัย 

    ข้อจำกัดของการให้เหตุผลแบบอุปนัย
         1.ข้อสรุปที่ได้จากการให้เหตุผลแบบอุปนัยที่ยอมรับว่าเป็นจริงนั้นอาจจะเกิดข้อขัดแย้งกับข้อความที่เป็นเหตุ
     เรายังไม่ได้อ้างไว้ก่อนเพราะข้อความที่เป็นเหตุยังมีอยู่อีกมากมีจำนวนไม่จำกัด
        2.จากการสังเกตข้อเท็จจริงจากเหตุหรือสมมุติฐานในเหตุการณ์หรือตัวอย่างที่หามา แล้วนำมาสรุปเป็นการวาง         นัยทั่วไปอาจจะไม่ใช่ข้อสรุปที่ถูกต้องก็ได้เพราะอาจมีตัวอย่างที่ไม่เป็นไปตามข้อสรุปที่ได้มาใหม่แน่นอนกว่า           ทำให้ข้อสรุปนั้นผิดไป
        3.ข้อสรุปที่มาจากการให้เหตุผลแบบอุปนัย เป็นการวางนัยทั่วไปซึ่งไม่ได้ให้ความจริงกับเราได้ร้อยเปอร์เซ็นต์         ข้อสรุปนี้อาจจะถูกต้องหรือผิดก็ได้และเป็นเพียงข้อสรุปที่มีความจริงว่าจะเป็นสิ่งที่จะถูกต้องเท่านั้น
   
ตัวอย่างที่ 1 ในการศึกษาลักษณะของสิ่งมีชีวิต ดังต่อไปนี้
                เหตุ  1. คนทุกคนต้องหายใจ
                      2. นกทุกคนต้องหายใจ
                     3. แมวทุกคนต้องหายใจ
                     4. เต่าทุกคนต้องหายใจ
                     5. เสือทุกคนต้องหายใจ
                ผลสรุป สัตว์ทุกชนิดต้องหายใจ
     
          2.การให้เหตุผลแบบนิรนัย
       การให้เหตุผลแบบนิรนัยเป็นการนำความรู้พื้นฐานซึ่งอาจเป็นความเชื่อ ข้อตกลง กฎ หรือบทนิยาม ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้      มาก่อน และยอมรับว่าเป็นความจริงเพื่อหาเหตุผลนำไปสู่ข้อสรุป เป็นการอ้างเหตุผลที่มีข้อสรุปตามเนื้อหาสาระที่      อยู่ภายในขอบเขตของข้ออ้างที่กำหนด
ตัวอย่างที่ 3      เหตุ    1.วันที่มีฝนตกทั้งวันจะมีท้องฟ้ามืดครึ้มทุกวัน
                                    2. วันนี้ท้องฟ้ามืดครึ้ม
                         ผล     วันนี้ฝนตกทั้งวัน
        จากตัวอย่างจะเห็นว่าการยอมรับความรู้พื้นฐานหรือความจริงบางอย่างก่อน แล้วหาสิ่งข้อสรุปจากสิ่งที่ยอมรับ         แล้วนั้น จะเรียกว่าผล การสรุปผลจะถูกต้องก็ต่อเมื่อ

     เป็นการสรุปได้อย่างสมเหตุสมผล



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น