บทที่ 3 จำนวนจริง



จำนวนจริง


         วัตถุประสงค์
    1. สามารถของวิธีหาจำนวนจริงได้
    2. สามารถสรุปความหมายของจำนวนจริงได้
       
                 1.โครงสร้างของจำนวน 
           

            จำนวนจริง ประกอบไปด้วย จำนวนตรรกยะ และ จำนวนอตรรกยะ
            จำนวนตรรกยะ คือ จำนวนที่สามารถเขียนในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็มโดยที่ส่วนไม่เป็นศูนย์
             เมื่อเขียนให้อยู่ในรูปแบบของทศนิยม จะได้ทศนิยมซ้ำ
            จำนวนอตรรกยะ คือ จำนวนที่ไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนได้เมื่อเขียนให้อยู่ในรูปของ
             ทศนิยมจะได้ทศนิยมไม่ซ้ำ ซึ่งบอกได้แค่ค่าประมาณ
            จำนวนคู่  คือ จำนวนที่หารด้วย 2 ลงตัว
            จำนวนคี่  คือ จำนวนที่หาร 2 ไม่ลงตัว
             จำนวนเฉพาะ คือ จำนวนที่มีตัวประกอบทั้งหมด 4 ตัว ได้แก 1,-1,p,-p

      ตัวอย่าง ให้ p และ q เป็นจำนวนตรรกยะที่แตกต่างกัน ให้ r และ s เป็นจำนวนอตรรกยะที่แตกต่าง
                  กันพิจารณาข้อความต่อไปนี้
                        ก.p-q เป็นจำนวนตรรกยะ                      ข. r-s เป็นจำนวนอตรรกยะ
                  ข้อสรุปใดต่อไปนี้ถูกต้อง
                 1. ก.ถูก   ข.ถูก                             2. ก.ถูก ข.ผิด
                 3. ก.ผิด   ข.ถูก                             4. ก.ผิด ข.ผิด
      วิธีทำ  ข้อ ก.ถูก  เพราะจำนวนตรรกยะลบกันย่อมเป็นจำนวนตรรกยะ
                  ข้อ ข.ผิด  สมมติให้ r = √2+1 และ s = √2-1 จะได้ r-s=2 ซึ่งเป็นจำนวนตรรกยะ ดังนั้น ก.ถูก ข.ผิด

             2. สมบัติของจำนวนจริง
      สมบัติการบวกในระบบจำนวนจริง
      กำหนดให้ a,b,c เป็นจำนวนจริงใดๆ
     1. สมบัติปิดการบวก a+b เป็นจำนวนจริง
     2. สมบัติการสลับที่ของการบวก a+b = b+a
     3. สมบัติการเปลี่ยนกลุ่มการบวก  a+(b+c) = (a+b)+c
     4. เอกลักษณ์การบวก 0+a = a = a+0  นั้นคือ ในระบบจำนวนจริงจะมี 0 เป็นเอกลักษณ์การบวก
     5. อินเวอร์สการการบวก a + (-a) = 0 = (-a) + a นั้นคือในระบบจำนวนจริงจะมี aจะมี-a เป็นอินเวอร์ส             การบวก
     สมบัติการคูณในระบบจำนวนจริง
     กำหนดให้ a,b,c เป็นจำนวนจริงใดๆ
    1. สมบัติปิดการคูณ ab เป็นจำนวนจริง
    2. สมบัติการสลับที่ของการคูณ ab = ba
    3. สมบัติการเปลี่ยนกลุ่มการคูณ  a(bc) = (ab)c
    4. เอกลักษณ์การคูณ 1*a = a = a*1  นั้นคือ ในระบบจำนวนจริงจะมี 1 เป็นเอกลักษณ์การคูณ
    5. อินเวอร์สการการบวก a * a-1  = a*a-1,a≠ 0 นั้นคือในระบบจำนวนจริงจะมี aจะมีa-1 เป็นอินเวอร์ส             การคูณ ยกเว้น 0 
   6. สมบัติการแจกแจง a(b+c)=ab+ac

             3. การแก้สมการ
      การแก้อสมการ คือ การหาคำตอบทั้งหมดที่ทำให้สมการเป็นจริง (คำตอบ=ราก=ผลเฉลย)
      สมการพื้นฐาน คือ สมการเชิงเส้น แก้ได้โดยจัดกลุ่มตัวแปรและตัวเลขให้แยกกันอยู่คนละฝั่ง
      สมการเศษส่วนสามารถแปลงให้อยู่ในรูปสมการเชิงเส้นได้โดยใช้วิธีคูณไขว้
            
            4. การแก้อสมการ
     การแก้อสมการ สามารถย้ายฝั่งบวก ลบ คูณ หารจำนวนได้เหมือนการแก้สมการทุกประการ แต่มีเรื่องที่ต้องระวัง คือ เมื่อจำนวนที่ติดลบคูณหรือหารตลอดอสมการ เครื่องหมายอสมการจะเปลี่ยนเป็นตรงกันข้าม และ ห้ามนำพจน์ที่มีตัวแปรคูณไขว้เด็ดขาด

           5. ค่าสัมบูรณ์ 
     ค่าสัมบูรณ์ a แทน ด้วยสัญลักษณ์ |a| คือระยะห่างระหว่าง a กับ 0 บนเส้นจำนวน

ตัวอย่าง 
 พิจารณาสมการ |x-6|=7 ข้อสรุปใดต่อไปนี้เป็นเท็จ 
1. คำตอบหนึ่งของสมการมีค่าระหว่าง 10 และ 15
2. ผลบวกของคำตอบทั้งหมดของสมการมีค่าเท่ากับ 12
3. สมการนี้มีคำตอบมากกว่า 2 คำตอบ
4. ในบรรดาคำตอบทั้งหมดของสมการ คำตอบที่มีค่าน้อยที่สุดมีค่าน้อยกว่า 3
วิธีทำ
 จากหลักการแก้สมการจะได้ว่า x-6 =7 นั่นคือ x=-1 หรือ 13 ซึ่งจะเห็นว่า ข้อ 3. สรุปไม่ถูกต้อง เพราะสมการนี้มีเพียง 2 คำตอบ   
  อ้างอิง 
ลิงก์ที่ 1 https://sites.google.com/site/canwncringlaeakhunsmbati/c/niyam-khxng-canwncring/khorngsrang-khxng-canwncring
ลิงก์ที่ 2 http://www.thaigoodview.com/node/51246

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น